http://www.jozho.net
   
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 19/11/2007
ปรับปรุง 05/02/2023
สถิติผู้เข้าชม14,611,206
Page Views22,701,458
Menu
หน้าแรก
งานบรรยายโดยโจโฉ
เกี่ยวกับ&ที่มา..โจโฉ
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
รวมเสียงโจโฉ
สนับสนุนโจโฉ
บทความโดยโจโฉ
ติดต่อโจโฉ
เลือกดาวน์โหลด
แนะนำ
มาใหม่ล่าสุด
บอกเล่าเก้าสิบ
สวดมนต์ สมาธิ
Video ธรรม
ข่าวร้อน
.
 

ผวา "เส้นก๋วยเตี๋ยว" มีสารกันบูดเพียบกินมากตับ-ไตพัง

(อ่าน 4538/ ตอบ 1)

เว็บมาสเตอร์




















หัวข้อ :: ผวา "เส้นก๋วยเตี๋ยว" มีสารกันบูดเพียบกินมากตับ-ไตพัง

ที่มา :: เดลินิวส์
 






ข้อมูล ::  

ย้ำควรบริโภคสูงสุดไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน


 อาหาร,เส้นก๋วยเตี๋ยว,เส้นหมี่,เส้นบะหมี่,สุขภาพ,เส้นก๋วยจั๊บ,สารกันบูด,วุ้นเส้น,หมี่หยก


            ผวาภัย เส้นเล็กผลวิจัยชี้เติมสารกันบูดเพียบ รองลงมาคือ เส้นหมี่หลังคณะเภสัชกรออกเดินสายสำรวจวิจัยเส้นก๋วยเตี๋ยวในพื้นที่ภาคอีสาน แล้วพบเติม กรดเบนโซอิกกันอื้อซ่าเกินกว่ามาตรฐานกำหนด เตือนกินเข้าไปมาก ๆ เสี่ยงตับ-ไตพัง เชื่อทั่วประเทศเติมสารกันบูดในก๋วยเตี๋ยวสูงเกินเกณฑ์เช่นกัน ขณะที่พวกนิยม บะหมี่เหลือง-วุ้นเส้นปลอดภัยไร้กังวล


 


            ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 27 ส.ค. เภสัชกร (ภก.) วรวิทย์ กิตติวงสุนทร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี เปิดเผยผลการวิจัยเรื่อง ความปลอดภัยในเส้นก๋วยเตี๋ยวในเขตภาคอีสาน ในงานประชุมเชิงวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2550 ซึ่งวิจัยโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเขต 14 ว่าเนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด ทำให้มีการแข่งขันทางการตลาดสูง และเนื่องจากก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ทิ้งค้างไว้หลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงเติมสารกันบูดหรือสารกันเสีย เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ให้เสียเร็วเกินไป โดยสารกันบูดที่นิยมใช้คือกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) จึงกำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


 


            ภก.วรวิทย์ กล่าวว่า ตอนแรกได้ออกสำรวจเฉพาะในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี พบว่ามีการใช้กรดทั้ง 2 ชนิด เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ตนและคณะจึงสำรวจในพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีแหล่งผลิตและจำหน่ายในเขต 14 ประกอบด้วย จ.อุบลราชธานี จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธร และ จ.ศรีสะเกษ ระหว่างเดือน มี.ค.-ก.ย. 49 จำนวน 92 ตัวอย่าง แบ่งเป็นเส้นเล็กและเส้นใหญ่ 11 ตัวอย่าง เส้นหมี่ 3 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่ 8 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นใหญ่ 5 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นเล็ก 4 ตัวอย่าง วุ้นเส้นและวุ้นเส้นสด 24 ตัวอย่าง บะหมี่โซบะ 2 ตัวอย่าง เส้นแก้ว 1 ตัวอย่าง หมี่ซั่ว 3 ตัวอย่าง หมี่เตี๊ยว 2 ตัวอย่าง บะหมี่หยก 4 ตัวอย่าง บะหมี่ฮกเกี้ยนดิบ 1 ตัวอย่าง ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้ง 4 ตัวอย่าง เส้นใหญ่แห้ง 2 ตัวอย่าง และก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ 3 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณกรดเบนโซอิก ตั้งแต่ 1,079- 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบมีเกินเกณฑ์มาตรฐาน 34 ตัวอย่าง


 


            ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ยังกล่าวว่า ในตัวอย่างก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 12 ตัวอย่าง เส้นใหญ่ 9 ตัวอย่าง เส้นหมี่ 3 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นใหญ่ 5 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้น เล็ก 4 ตัวอย่าง และบะหมี่โซบะ 1 ตัวอย่างนั้น ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กพบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาเป็นเส้นหมี่ กวยจั๊บเส้นใหญ่ กวยจั๊บเส้นเล็ก บะหมี่โซบะ และก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ และพบว่าเป็นตัวอย่างจากแหล่งผลิตทางภาคอีสาน 26 ตัวอย่าง แหล่งผลิตนอกภาคอีสานจำนวน 8 ตัวอย่าง แต่ทุกตัวอย่างไม่พบกรดซอร์บิก ส่วนเส้นที่ไม่พบสารหรือวัตถุกันเสียเลย คือเส้นบะหมี่เหลืองเพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่น ๆ จะผลิต จากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกัน


 


            ภก.วรวิทย์ กล่าวด้วยว่า การวิจัยครั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจทำให้ผู้คนแตกตื่น หรือทำลายอุตสาหกรรม แต่เป็นการวิจัยเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาและสร้างความปลอดภัยในอาหารตาม นโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพราะเมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ดังนั้นปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคคือ ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการกินก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ จะมีเส้นประมาณ 50-100 กรัม เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับกรดเบนโซอิกประมาณ 226-451 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเมื่อรวมกับปริมาณวัตถุกันเสียในอาหารอื่น ๆ ที่กินในแต่ละวัน เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับสารนี้จำนวนมาก แม้การตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้ จะทำเฉพาะในเขต 14 แต่คาดว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศ จะมีปัญหาไม่น่าแตกต่างกัน


 


            ทั้งนี้ ภก.วรวิทย์ ยังได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้คือ 1. ผู้ประกอบการต้องไม่โลภ เอาเปรียบผู้บริโภค โดยควรผลิตจำหน่ายในพื้นที่ ไม่ใช่ส่งขายชนิดข้ามจังหวัด ข้ามไปภาคอื่น ๆ เช่น ผลิตที่มหาชัย แต่ขนไปจำหน่ายที่อุบลราชธานี ซึ่งต้องใช้เวลาการขนส่งนาน ทำให้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตมีระยะเวลาการจำหน่ายที่สั้นลง เลยต้องใช้สารกันบูด 2. พัฒนาเทคโนโลยีการ ผลิต โดยควบคุมอุณหภูมิในช่วงบรรจุเส้นก๋วย เตี๋ยว ใช้บรรจุภัณฑ์ควบคุมความชื้น ซึ่ง จะทำให้เส้นสามารถเก็บได้เป็นสัปดาห์ โดยไม่เสียง่ายโดยจะเพิ่มต้นทุนการผลิตเพียงเล็กน้อยกิโลกรัมละไม่ถึง 1 บาท และ 3. ใช้วัตถุกันเสียชนิดอื่น ๆ ทดแทน ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ กำลังศึกษาอยู่ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ




koko

น่ากลัวจังเลยครับ  ไม่รู้จะกินไรดีเนี่ย ทุกอย่างมีสารพิษหมด
Page : 1
Lock Reply
 
 หน้าแรก  รวมเสียงโจโฉ  บทความ  ภาพกิจกรรม  สนับสนุนโจโฉ  ติดต่อ
view